Monday, August 8, 2016

เคาะเหตุผลเบื้องหลังสามจังหวัดใต้ "โหวตโน"

วันอาทิตย์ ที่ 07 สิงหาคม 2559 เวลา 22:46 น.


*****สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเพียงไม่กี่พื้นที่ในประเทศที่ผล
ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเที่ยวนี้ คะแนน "โหวตโน" ชนะ "รับ
ร่างฯ"*****


นราธิวาส ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 38.16% ไม่เห็นชอบ 
61.84% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 37.37% ไม่เห็นชอบ 62.63%


ปัตตานี ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 34.86% ไม่เห็นชอบ 
65.14% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 34.18% ไม่เห็นชอบ 65.82%


ยะลา ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 40.46% ไม่เห็นชอบ 
59.54% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 39.72% ไม่เห็นชอบ 60.28%


คะแนน (อย่างไม่เป็นทางการ) ที่ออกมาแทบจะกลับด้านกับผล
ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2550 เพราะครั้งนั้นนราธิวาสรับร่างฯ 
73.4% ปัตตานี รับร่างฯ 72.2% ขณะที่ยะลา รับร่างฯ 69.6%


ผลคะแนนที่ปรากฏ ถือเป็นความพยายามของคนในพื้นที่ที่ต้องการ
สะท้อนให้ผู้มีอำนาจเห็นว่า พวกเขาไม่พอใจเนื้อหาของร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับนี้


ที่ต้องบอกว่าเป็น “ความพยายาม” ก็เพราะตั้งแต่ก่อนเวลาเปิดหีบ
ออกเสียงประชามติ มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นถี่ยิบ นับรวมได้กว่า 30 ลูก 
แต่ประชาชนก็ยังออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่ง แม้จะไม่ท่วมท้นเหมือนที่
เคย แต่ก็มากกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 57 (ที่ภายหลังล้มไป)


ถามว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของการ “โหวตโน” หากกล่าวอย่าง
สรุปรวบยอดก็มี 2-3 ประเด็น


หนึ่ง คือ ความไม่พอใจมาตรา 67 เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศาสนา ที่
เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กรธ.เขียนให้น้ำหนักศาสนาพุทธมากกว่า
ศาสนาอื่นอย่างชัดแจ้ง ทำให้มีการสร้างกระแสว่าหากรัฐธรรมนูญ
ผ่าน ศาสนาอิสลามจะไม่ได้รับการเหลียวแล


มาตรา 67 เขียนเอาไว้แบบนี้... “รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธ
ศาสนาและศาสนาอื่นในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอัน
เป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่ง
เสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธ
ศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมี
มาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธ
ศาสนา ไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วน
ร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย”


ต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมามีกระแสต้านอิสลาม คัดค้านการสร้างมัสยิดใน
หลายจังหวัดของประเทศ จากความเชื่อและข่าวลือว่าอิสลามกำลัง
รุกคืบในประเทศไทย ผนวกกับกระแสหวาดกลัวอิสลามจาก
สถานการณ์การก่อการร้ายระดับโลก แทนที่ กรธ.จะเขียนรัฐธรรมนูญ
โดยให้น้ำหนักทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กลับเขียนออกมาเช่น
นี้ จึงไม่แปลกที่พี่น้องมุสลิมจะรู้สึกน้อยใจ หรือไม่พอใจมาตรา 67


สอง คือ การเขียนให้รัฐอุดหนุนการศึกษา หรือเรียนฟรีถึงแค่ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 จุดนี้ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเกรงว่าจะได้
รับผลกระทบ เพราะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนหัวละกว่า 
14,000 บาทต่อคนต่อปี หากถูกตัดเงินส่วนนี้ ก็ต้องสูญรายได้
มหาศาล และย่อมกระทบกับคุณภาพทางการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้


แม้ภายหลังจะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดนโยบายให้เรียนฟรีถึง
มัธยมศึกษาตอนปลายเช่นเดิม แต่กระแสต้านก็ฉุดไม่อยู่


สาม คือ กลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล คสช. เคลื่อนไหวอย่าง
หนักเพื่อสร้างกระแส “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” โดยใช้เหตุผล 2 ข้อแรก ซึ่งก็ถือว่าฟังขึ้น ตัวเลขไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงจึงออกมาอย่างที่เห็น


ทั้งผลคะแนนประชามติที่ออกมา และสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิด
ขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอ่อนไหว
อย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นความรู้สึก ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่า 
“รัฐ” เข้าไม่ถึงหัวจิตหัวใจของพวกเขา


และ “รัฐ” ยังมิอาจควบคุมพื้นที่ได้จริง พิจารณาจากเหตุรุนแรงหลาย
สิบจุดที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นรูปแบบการระเบิดที่เรียกว่า “วางแบบเร่ง
ด่วน” ไม่ได้เตรียมแผนหรือมุ่งสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ก็ตาม 
แต่ฝ่ายผู้ก่อการก็ยังถือว่ามีเสรีในการปฏิบัติมากระดับหนึ่ง


ทั้งหมดนี้จึงพอสรุปได้ว่า สถานการณ์ที่ชายแดนใต้ยังคงเป็นโจทย์
ข้อยากหากคิดจะดับไฟความขัดแย้งให้ได้จริงตามที่โฆษณา


ที่มา - สำนักข่าวอิสรา
http://www.isranews.org/south-ne…/…/item/49067-no_49067.html

กองทัพอิสราเอลสังหารเด็กกาซ่า 50 คน ภายใน 2 วัน

แคทเธอรีน รัสเซลล์ ผู้อำนวยการบริหารขององค์กรยูนิเซฟ UNICEF ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีที่นองเลือดในฉนวนกาซาเหนือเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย...