ยาสมิน โพราต (Yasmin Porat) หญิงอิสราเอลซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากการปะทะนองเลือดระหว่างกลุ่มฮามาสและกองกำลังอิสราเอลที่เมืองคิบบุตซ์ เบรี (Kibbutz Be'eri) ใกล้เขตชายแดนกับฉนวนกาซา กล่าวว่า พลเรือนอิสราเอลจํานวนมากถูกสังหารโดยกองกําลังอิสราเอล
หญิงชาวอิสราเอลที่รอดชีวิตจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสในนิคมใกล้เขตฉนวนกาซาเมื่อวันที่
7 ตุลาคม 2565 กล่าวว่า
พลเรือนอิสราเอลถูกสังหารโดยกองกําลังความมั่นคงของตนเองอย่าง "ไม่ต้องสงสัยเลย"
มันเกิดขึ้นเมื่อกองกําลังอิสราเอลมีส่วนร่วมในการต่อสู้ด้วยอาวุธปืนที่ดุเดือดกับนักสู้ชาวปาเลสไตน์ในเมืองคิบบุตซ์
เบรี และยิงใส่ทั้งนักรบชาวปาเลสไตน์ และกลุ่มเชลยชาวอิสราเอล
(ที่ฮามาสต้องการจับตัวไป)
"พวกเขากําจัดทุกคน รวมถึงตัวประกันด้วย" เธอให้
สัมภาษณ์กับทางสถานีวิทยุอิสราเอล "มีการยิงต่อสู้กันไปมาที่หนักมากๆ" และแม้แต่กระสุนรถถังที่ยิงเข้ามาในบ้าน
ยาสมิน
โพราต หญิงวัย 44 ปี แม่ลูก 3 กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เธอและพลเรือนคนอื่นๆ
ถูกชาวปาเลสไตน์จับตัวเอาไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมง และได้รับการปฏิบัติอย่าง "มีมนุษยธรรม"
เธอได้หนีมาจากเทศกาลดนตรีซุปเปอร์โนวา ที่จัดขึ้นที่คิบบุตซ์
ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้กับที่เธอพำนักอยู่
ทางเว็ปไซต์ของ
“เดอะอิเล็กโทนิก อินติฟาเฎาะฮฺ” (The Electronic Intifada) ได้มีการนำบทสัมภาษณ์ของเธอจากรายการวิทยุ
Haboker Hazeh ที่แปลว่า “เช้านี้” ที่จัดโดย อาร์เย โกลัน (Aryeh Golan) ซึ่งเป็นสถานีในเครือของรัฐบาลอิสราเอลชื่อ
แกน (Kan)
และวีดีโอการสัมภาษณ์นี้ได้รับการเผยแผ่บนโลกโซเชียลมีเดีย และบทสัมภาษณ์นี้ได้รับการแปลโดย “เดอะอิเล็กโทนิก
อินติฟาเฎาะฮฺ”
จะสังเกตเห็นได้ว่า
การสัมภาษณ์ของโพราดไม่ได้อยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะคลิปการสัมภาษณ์ไม่รวมอยู่ในโปรแกรมฮาบอเกอร์ เฮซาห์ (Haboker Hazeh) เวอร์ชั่นออนไลน์ของวันที่ 15 ตุลาคม
2565 ซึ่งเป็นตอนที่ออกอากาศอย่างชัดเจน มันมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลที่นำโดยนายกฯ
เนทันยาฮู สั่งเซ็นเซอร์ (ลบรายการนี้ออกไป) เนื่องจากเนื้อหาของหนึ่งในเชลยที่รอดชีวิตคือโพราต
เปิดโปงกองกำลังอิสราเอล พูดความเป็นจริงว่าฝ่ายกองกำลังอิสราเอลฆ่าตนของตัวเอง
และไปหักล้างโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลอิสราเอล และสื่อกระแสหลักทั่วโลก ที่โกหกว่า ฮะมาสเป็นผู้ก่อการร้าย
ป่าเถื่อน โกหกว่าฮะมาสฆ่าข่มขื่นผู้หญิง, ตัดหัวเด็กทารก และฆ่าผู้สูงอายุชาวยิว
โพราต
ผู้มาจากแกบบรี Kabri ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนยิวไซออนิสต์ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนเลบานอน
ซึ่งเธอได้ประสบกับเหตุการณ์ที่เลวร้าย และเห็นพลเรือนชาวยิวด้วยกันถูกกองกำลังอิสราเอลฆ่าตายเสียเอง
ที่สำคัญไปกว่านั้น นายตัล กัส (Tal Katz) คนรักของเธอ เป็นหนึ่งในจำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายพลเรือนอิสราเอล
อย่างน้อยมีหนึ่งโพสต์ในแพลตฟอร์ม
X (อดีตคือทวิตเตอร์) โพสต์ข้อความกล่าวหา สถานีวิทยุแกนว่า
ทำหน้าที่เป็น “โฆษกให้กลุ่มฮามาส” เสียเอง
โพราต
ยังเล่าประสบการณ์ที่คิบบุตซ์ ให้กับหนังสือพิมพ์มารีฟ (Maariv) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม
แต่ไม่ได้มีการเล่าว่า พลเรือนชาวอิสราเอลถูกฆ่าโดยกองกำลังอิสราเอล และในการให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ช่อง12
วันพฤหัสที่ผ่านมา (19 ตุลาคม 2565) โพราดเล่าวว่า มีการยิงปะทะกันอย่างหนักหน่วง หลังกองกำลังอิสราเอลมาถึงบ้านที่เธอหนีมาจากเทศกาลดนตรีซุปเปอร์โนวา
ซึ่งนางเองก็บาดเจ็บจากการที่ลูกกระสุนของกองกำลังอิสราเอลยิงเข้าที่ต้นขาของนาง
ฮามาสปฏิบัติต่อชาวอิสราเอลอย่างมี
“มนุษยธรรม”
โพราดเพียงแต่บอกกับทางสถานีวิทยุแกนว่า อิสราเอลถูกฆ่าตายระหว่างการปะทะกันอย่างหนักระหว่างฮามาสกับกองกำลังอิสราเอล
นางบอกอีกว่า นางและเชลยคนอื่นๆ
ที่เป็นพลเรือนได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากนักรบชาวปาเลสไตน์ ซึ่งตัวโพราดและคนรักได้ไปเที่ยวงานเทศกาลดนตรีซุปเปอร์โนวา
เมื่อนักรบกลุ่มฮามาสเริ่มโจมตีด้วยการยิงจรวดเข้ามา และใช้ร่มร่อนพาราไกลดิ้งข้ามกำแพงกั้นที่รัฐบาลอิสราเอลสร้างขึ้นมา
เพื่อปิดกั้นชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาไม่ให้ออกมาสู่โลกภายนอก นางและกัส
ซึ่งเป็นคนรักของนาง พากันหนีด้วยรถยนต์มายังเมืองคิบบุตซ์ เบรี ที่อยู่ใกล้กับเหตุการณ์ที่นางให้สัมภาษณ์สื่อ
อ้างจากโพราตที่ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มารีฟ
ตอนแรกนางและกัสพากันไปหลบภัยในบ้านที่เป็นคู่สามีภรรยา อาดี และ ฮาดาส ดากัน (Adi &
Hadas Dagan) หลังจากนักรบชาวปาเลสไตน์มาเจอพวกเขา
ทุกคนถูกนำตัวไปรวมกันไว้ที่บ้านอีกหลังหนึ่ง ซึ่งมีชาวอิสราเอล 8 คน ถูกจับตัวเป็นเชลยอยู่ที่นั่นอยู่แล้ว
และปรากฏว่า มีคนหนึ่งเสียชีวิต
โพราตบอกภรรยาของชายที่เสียชีวิตลง
“บอกกับเราว่าเมื่อนักรบฮามาสมาถึง พวกเขาพยายามเข้ามาในบ้าน
สามีนางพยายามที่จะป้องกันไม่ให้พวกเขาเข้ามา และดึงประตูเอาไว้ พวกเขา (ฮามาส) ใช้ปืนยิงที่ประตู
เขาถึงเสียชีวิต พวกเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะฆ่าสามีของนางแต่อย่างใด”
โกลันซึ่งเป็นคนสัมภาษณ์ในรายการวิทยุถาม
โพราต “พวกเขาทำร้ายคุณมั้ย?“ โพราตตอบว่า “พวกเขาไม่ได้ทำร้ายเรา พวกเขาปฏิบัติต่อเราอย่างมีมนุษยธรรมอย่างมาก”
โกลันถึงกับประหลาดใจ ถามโพราตต่อว่า “อย่างมีมนุษยธรรมอย่างนั้นเลยเหรอ?”
นางตอบว่า “ใช่! ความมีมนุษยธรรมหมายถึงอะไร? พวกเขาคอยอารักขาพวกเรา พวกเขาคอยหาอะไรให้เราดื่มที่นั่น เมื่อพวกเขาเห็นเราประหม่า พวกเขาทำให้เราใจเย็นลง มันเป็นอะไรที่น่ากลัว แต่ไม่มีใครปฏิบัติต่อเราด้วยการใช้ความรุนแรงเลย โชคดีที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับฉันเหมือนที่ฉันได้ยินจากสื่อหลายสำนัก”
“พวกเขาปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมกับเราเป็นอย่างมาก” โพราตให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 12 นางยังจำได้ว่า นักรบชาวปาเลสไตน์คนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาฮิบรูได้ บอกกับนางว่า ‘มองหน้าผมนะ เราจะไม่ฆ่าคุณ แต่เราแค่ต้องการนำตัวคุณไปยังฉนวนกาซากับเรา เราจะไม่ฆ่าคุณ ขอให้คุณใจเย็น คุณจะไม่ตาย’ นั่นเป็นสิ่งที่เขาบอกกับฉัน ฉันก็ใจเย็นลง แต่ก็ยังไม่รู้อีกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวฉันอีก” โพราต กล่าว
“พวกเขาบอกกับเราว่า
เราจะไม่ถูกพวกเขาฆ่า พวกเขาต้องการที่จะนำตัวเราไปยังฉนวนกาซา และวันต่อมา
พวกเขาจะส่งเรากลับมายังด่านที่ติดพรมแดนกับพื้นที่ที่อิสราเอลยึดครองอยู่” โพราต
ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มารีฟ
ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ช่อง12 โพราตอธิบายเพิ่มเติมว่า
ถึงแม้นักรบชาวปาเลสไตน์ทุกคนจะมีอาวุธครบมือ แต่นางก็ไม่เคยเห็นพวกเขาใช้ปืนยิงเชลย
หรือแม้กระทั่งใช้ปืนข่มขู่พวกเขาแต่อย่างใด
นอกเหนือจากการที่นักรบชาวปาเลสไตน์จัดหาน้ำดื่มให้กับเชลยแล้ว
นางยังกล่าวอีกว่านักรบปล่อยให้พวกเขาออกไปที่สนามหญ้าเพราะอากาศร้อนอบอ้าว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่รัฐบาลอิสราเอลตัดไฟฟ้าแถวนั้นทั้งหมด
เชลยมีแต่คนอายุน้อยและหวาดกลัว
โพราตเล่าให้รายการสถานีวิทยุของแกนว่า
ประมาณ 8 ชั่วโมงผ่านไป หลังจากนั้นนางโทรเรียกตำรวจ
กองกำลังอิสราเอลมาถึงและความโกลาหลก็เริ่มขึ้น “ตอนแรกไม่มีกองกำลังอิสราเอลเข้ามา
ฉันโทรไปหาตำรวจครั้งแรกก็ไม่มีใครรับสาย เราเป็นฝ่ายที่โทรเรียกตำรวจ นักรบชาวปาเลสไตน์ให้ฉันโทรหาตำรวจ
อีกใจหนึ่งฉันก็ต้องการให้ตำรวจมาช่วยพวกเรา
เพราะทางนักรบชาวปาเลสไตน์บอกกับเราว่า จะจับตัวเราไปไว้ที่ฉนวนกาซา”
“พวกเราคิดว่าทหารจะไม่ฆ่าเรา
เราคิดว่าจะมีชีวิตรอดออกไป หลังจากที่ตำรวจอนุญาตให้เราออกไปได้อย่างปลอดภัย” แม้กระทั่งเชลยมีจำนวนแค่ 12 คน แต่โพราตถูกนักรบชาวปาเลสไตน์ให้บอกตำรวจว่าเรามีกันอยู่
40 คน ซึ่งเชลยส่วนใหญ่อายุประมาณ 20 กว่าๆ เอง พวกเขายังเด็กและยังคงอยู่ในสภาพที่หวาดกลัว
โพราตเล่าให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 12 ฟัง
นักรบชาวปาเลสไตน์คนหนึ่งซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาการอายุประมาณแค่
30 กว่าๆ เท่านั้น ซึ่งเขาเป็นฝ่ายขอพูดกับตำรวจเอง โดยขอพูดกับตำรวจที่สามารถพูดภาษาอราบิคได้
หลังจากคุยกันได้สักพักหนึ่ง นักรบที่มีอยู่ประมาณ
40 คน และเชลยอีก 12 คน ต่างฝ่ายต่างก็รอให้ทหารมาถึง
ซึ่งนักรบชาวปาเลสไตน์บางส่วน และเชลยบางส่วน ก็ออกไปรออยู่บริเวณข้างนอกสนามหญ้า
เพราะอากาศในตอนบ่ายที่ร้อนอบอ้าว
กระหน่ำสาดกระสุนมาไม่ยั้ง
ทั้งระดมยิงปืนครกเข้ามา
กองกำลังอิสราเอลประกาศการมาถึงของพวกเขาพร้อมกับกระหน่ำสาดกระสั่นปืนเข้ามาในทันที
ทำให้ทั้งนักรบชาวปาเลสไตน์ และเชลย ต่างพากันตกตะลึง “เราอยู่กันข้างนอก และทันใดนั้น ก็มีกระสุนจำนวนมากกระหน่ำสาดเข้ามาหาพวกเราจากตำรวจชายแดนอิสราเอลหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ชื่อหน่วยยามัม (YAMAM) ซึ่งทำให้พวกเราทุกคนเริ่มวิ่งหาที่กำบัง”
โพราต บอกกับช่อง 12”
โพราตกล่าวว่า
เธอยกมือขึ้นเพื่อแสดงท่ายอมจำนนต่อทหารอิสราเอล
หลังจากครึ่งชั่วโมงในการสู้รบด้วยอาวุธปืนกันอย่างดุเดือด ซึ่งกระสุนจากปืนและจากปืนครกที่กระหน่ำยิงเข้ามา
และนักรบปาเลสไตน์คนหนึ่งซึ่งเป็นผู้บัญชาการ ตัดสินใจยอมจำนน
และขอใช้นางเป็นโลห์มนุษย์
“เขาเริ่มถอดเสื้อ
และเขาก็เริ่มเรียกฉัน พร้อมเริ่มเดินออกมาจากบ้านพร้อมฉัน ในขณะที่มีการยิงเข้ามา
ตอนนั้น ฉันตะโกนให้หน่วยคอมมานโด หยุดยิง เมื่อพวกเขาได้ยิงฉัน พวกเขาก็หยุดยิง”
โพราตพูดเสริมว่า “ฉันเห็นพลเรือนจากคิบบุทซ์ ซึ่งมีเชลย 5 ถึง 6 คน นอนตายเกลื่อนอยู่บนสนามหญ้า สภาพไม่ต่างอะไรกับแกะที่ถูกเชือด
ขณะที่ยิงต่อสู้กันระหว่างหน่วยคอมมานโดกับนักรบชาวปาเลสไตน์”
“ผู้ก่อการร้ายยิงพลเรือนใช่มั้ย?”
โกลันถามโพราต “ไม่ใช่! พวกเขา
(เชลยชาวอิสราเอล) บาดเจ็บสาหัสจากการยิงปะทะกันไปมาอย่างดุเดือด” โพราต ตอบ
“เข้าใจด้วยว่าเป็นการยิงปะทะกันไปมาอย่างดุเดือดมากๆๆ” โพราต เน้น… โกลัน จีงรีบพูดต่อว่า “ถ้างั้น พวกเขา (เชลยอิสราเอล) ถูกกองกำลังอิสราเอลของเรายิงเหรอ
ขณะที่พยายามกำจัดพวกลักพาตัว?” “ใช่แล้ว มันทำให้ฉันรู้สึกเจ็บปวด พวกเขา
(เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอิสราเอล) ยิงทุกๆ คนที่อยู่ที่นั่น รวมทั้งตัวเชลย เป็นการปะทะกันกันไปมาอย่างหนักหน่วง
ฉันเป็นอิสระตอนประมาณ 17.30 น. ตอน 20.30 น.การปะทะกันกับกลุ่มนักรบปาเลสไตน์จบลง
หลังจากการปะทะกันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน แม้กระทั่งรถถังยังปืนเข้ามาในบ้านหลังเล็กๆ ซึ่งตอนนั้น ทุกๆ คนถูกฆ่าตาย ยกเว้นฉันและนักรับปาเลสไตน์คนหนึ่ง” โพราต เล่า.... โกลันยังถามย้ำอีกว่า “แล้ว ทุกคนตายได้ยังไง?” โพราตตอบว่า “จากการที่ยิงปืนตอบโต้กันไปมา “ในตอนที่ยิง เชลยชาวอิสราเอลถูกยิงโดยกองกำลังของเราเองใช่มั้ย?” โกลันถาม “แน่นอน พวกเขาทั้งหมดตายเพราะถูกกองกำลังของเรายิง” โพราต ตอบ
โปรัตและนักรบชาวปาเลสไตน์ที่จับนางเป็นเชลยรอดตาย
จากนั้น เขาถูกกองกำลังอิสราเอลจับตัวไปเป็นเชลย แต่จากข้อมูลของโปรัต
พลเรือนคนอื่นๆ ที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่แทบนั้นเกือบทุกคนถูกฆ่าตาย บ้างบาดเจ็บ
หรือบางคนก็ยังสูญหาย ซึ่งเชื่อกันว่า พวกถูกสูญหายน่าจะถูกนักรบปาเลสไตน์จับตัวไปเป็นเชลยศึกในฉนวนกาซา
โพราตบอกกับโกลันว่า เธอต้องสูญเสียเพื่อนไปหลายสิบคนจากเทศกาลดนตรีโนวา
ผู้คนที่เธอมักจะพบเจอในงานปาร์ตี้ต่างๆ
“ฉันรู้สึกโกรธรัฐบาล ฉันโกรธกองทัพอิสราเอลเอามากๆ” โพราตบอกกับหนังสือพิมพ์มาริฟ
“ประชาชนในคิบบุตซ์ถูกรัฐบาลทอดทิ้งเป็นเวลานานถึง 10 ชั่วโมง”
ทั้งอเมริกันและอิสราเอลพยายามร่วมกันสร้างภาพลวงตาว่า
ฮามาสเลวร้ายกว่าพวกกลุ่มไอสิสเสียอีก เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมต่อประชาคมโลก
ที่กำลังลงมือสังหารหมู่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความพยายามที่จะปกปิดเรื่องเล่าของ นาง
โพราต หญิงชาวอิสราเอล ซึ่งตัวนางเองก็ออกมายืนยันกับสื่อหลายแห่งว่า
กองกำลังอิสราเอลเป็นฝ่ายลงมือสังหารประชาชนชาวอิสราเอลซะเอง ไม่ใช่เป็นฝีมือของกลุ่มนักรบฮามาส
แต่อย่างใด
ผู้นำหลายคนในรัฐบาลอิสราเอล
ซึ่งตกอยู่ในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประชาชนชาวอิสราเอลอยู่แล้วว่า รัฐบาลล้มเหลวในด้านข่าวกรอง
และล้มเหลวในการป้องกันการรุกรานของกลุ่มฮามาสและกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลุ่มอื่นๆ
ในฉนวนกาซา โดยที่ทางรัฐบาลเอง ก็ยิ่งไม่ต้องการที่จะให้ประชาชนรับรู้เรื่องที่ชาวอิสราเอลจำนวนมากที่ตายไป
เพราะถูกสังหารจากการที่ “พวกเดียวกัน ยิงกันเอง" ในขณะที่ยิงตอบโต้กับกลุ่มนักรบชาวปาเลสไตน์กลุ่มต่างๆ
ที่แทรกซึมเข้ามาในพื้นที่ต่างๆ ที่อิสราเอลยึดครองอยู่
คำสั่งฮันนิบาล
(Hannibal Directive)?
ซอและห์
อัล-อารูรี (Saleh al-Arouri) ผู้บัญชาการทหารระดับอาวุโสของกลุ่มฮามาส
ออกมาตอบโต้ถึงข้อกล่าวหาของอิสราเอลต่อนักรบกลุ่มฮามาสว่า
ทางกลุ่มตั้งใจที่จะสังหารพลเรือนชาวอิสราเอลให้ได้มากที่สุด โดยเขาบอกว่า การรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลอิสราเอล
ได้รวบรวมเรื่องราวสุดโหดร้ายที่น่าสะพรึงกลัว ซึ่งพวกเขาไม่สามารถพบหลักฐานใดๆ
ว่ามันเกิดขึ้นจริง! โดยที่กล่าวหาว่า
นักรบชาวปาเลสไตน์ตัดศีรษะเด็กทารกชาวอิสราเอลไปหลายสิบคน
และผู้หญิงชาวอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสจับข่มขืน
อัล-อารูรี
กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอัลญะซีเราะฮฺเมื่อวันพฤหัสที่ 16 ตุลาคม 2565
ว่า นักรบของกองกำลังทหารของกลุ่มฮามาส
กองพลกอซซัม นักรบทุกคนอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มงวด โดยพวกเขาจะไม่มีการทำร้ายพลเรือน
ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม
แต่อัล-อารูรีให้ความเห็นว่า
หลังจากที่ค่ายทหารอิสราเอลหลายแห่ง ซึ่งเป็นหน่วยกองทัพอิสราเอลที่ล้อมรอบฉนวนกาซา
ถูกกองกำลังกอซซัม พังทลายรั้ว ที่อิสราเอลใช้ระบบเซ็นเซอร์เร็วกว่าที่คาดเอาไว้มาก
ทำให้ผู้คนในฉนวนกาซาพากันรุดไปยังบริเวณชายแดนที่กั้นระหว่างฉนวนกาซากับอิสราเอล
หลังจากพวกเขาเริ่มรับรู้ว่า รั้วได้พังลงแล้ว ทำให้เกิดความโกลาหลวุ่นวาย
เขากล่าวว่า นี่อาจรวมไปถึงกลุ่มติดอาวุธกลุ่มอื่นๆ
ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองพลกอซซัม เริ่มบุกเข้าไปยังพื้นที่ต่างๆ
ที่ชาวอิสราเอลเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างผิดกฏหมายระหว่างประเทศ ใกล้ชายแดนฉนวนกาซา
การที่ทำลายรั้วได้
ทำให้กองพลกอซซัมได้ปะทะอย่างหนักกับทหารอิสราเอล, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอาณานิคมสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานของชาวยิว
และผู้อยู่อาศัยยิวไซออนิสต์ที่ติดอาวุธ ซึ่งทำให้พลเรือนเสียชีวิตตามไปด้วย
อัล-อารูรียังกล่าวถึงกรณีความเป็นไปได้ที่อิสราเอลใช้
‘คำสั่งฮันนิบาล’ (Hannibal Directive) ซึ่งเป็นระเบียบการของไซออนิสต์ที่อนุญาตให้กองกำลังอิสราเอลใช้กำลังอย่างเกินขอบเขต
เพื่อทำการสังหารทหารของตน เพื่อป้องกัน (กลุ่มฮามาสและกลุ่มอื่นๆ) สามารถจับตัวไปเป็นเชลยได้
แทนที่จะปล่อยให้พวกทหารอิสราเอลต้องถูกจับเข้าคุกกลายไปเป็นเชลยศึก
ซึ่งเหตุผลสำคัญสำหรับคำสั่งฮันนิบาลคือ การหลีกเลี่ยงการปล่อยให้ศัตรูมีเชลย
(ที่เป็นชาวอิสราเอล) ซึ่งจะทำให้ฮามาสและกลุ่มต่อต้านอิสราเอลกลุ่มอื่นๆ สามารถนำมาใช้ในการเจรจาแลกเปลี่ยนนักโทษชาวปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลจับขังคุกลืมอยู่ในตอนนี้
อย่างไรก็ตาม
ในกรณีนี้ หากกองทัพอิสราเอลนำ ‘คำสั่งฮันนิบาล’ ไปใช้ ก็คงจะถูกนำมาใช้กับพลเรือนด้วยเช่นกัน นั่นคือ
ทางกองกำลังอิสราเอลยอมฆ่าพลเรือนของตัวเอง ก่อนที่พลเรือนจะถูกกลุ่มนักรบชาวปาเลสไตน์กลุ่มต่างๆ
ในฉนวนกาซา จับตัวไปเป็นเชลยศึก เพื่อจะใช้เป็นข้อต่อรองแลกเปลี่ยนนักโทษชาวปาเลสไตน์ทั้งผู้หญิง
ผู้ชาย และเด็ก ที่อิสราเอลขังเอาไว้มากกว่า 6,000 คนแล้ว ในตอนนี้
อัล-อารูรี่กล่าวกับสำนักข่าวอัลญะซีเราะฮฺว่า
“เรามั่นใจว่า เยาวชนที่เป็นนักรบของกลุ่มเรา ก็เสียชีวิตเช่นกัน จากการที่ถูกอิสราเอลทิ้งระเบิดถล่มฉนวนกาซาอย่างหนักมาโดยตลอด
เพื่อให้ตายไปพร้อมกับเชลยศึกซึ่งเป็นประชาชนชาวอิสราเอลที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวเข้ามาในฉนวนกาซา”
เรื่องราวของโพราตเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสอบสวนโดยองค์กรอิสระ
ซึ่งรัฐบาลอิสราเอลเองคงไม่น่าจะยอมให้มีการสอบสวนขึ้นโดยเด็ดขาด
บทโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ
ที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาในปัจจุบัน ล้วนเป็นสิ่งล้ำค่า สำหรับแก๊งค์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของผู้นำคนต่างๆ
ในรัฐบาลเทลอาวีฟ
ณ
วันที่เขียน (วันที่ 02/12/2565) ชาวปาเลสไตน์ถูกกองกำลังอิสราเอลสังหารอย่างโหดเหี้ยมไปแล้วมากกว่า ณ
วันที่เขียน (เช้าของวันที่ 24/10/2565) ชาวปาเลสไตน์ถูกกองกำลังอิสราเอลสังหารอย่างโหดเหี้ยมไปแล้วมากกว่า
15,000 ราย
บาดเจ็บมากกว่า 16,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็กที่เสียชีวิตมากกว่า 6,150 ราย เป็นผู้หญิง 4,000 ราย มากกว่า ยังมีคนสูญหายอีก
7,000 คน นับตั้งแต่กลุ่มฮามาสเริ่มบุกโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่
7 ตุลาคม 2565
ส่วนเป้าหมายของรัฐบาลอิสราเอลจากการทิ้งระเบิดถล่มบ้านเรือน, โรงพยาบาล โรงเรียนที่ยูเอ็นดูแลอยู่ ตลาด ร้านอาหาร ด่านพรมแดนระหว่างฉนวนกาซากับอียิปต์ โจมตีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในฉนวนกาซา ก็คือ การสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ให้ได้มากที่สุด และไล่พวกเขาให้ย้ายไปอยู่ในไซนาย ในอียิปต์ เพื่อจะให้ฉนวนกาซากลายเป็นที่ตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่ของพวกยิวไซออนิสต์ที่เดินทางมาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
อบูอุบัยดะฮฺ
โฆษกของกองพลน้อยเอซเซดีน อัล-กอซซัม ซึ่งเป็นฝ่ายทหารของกลุ่มฮามาสให้เหตุผลการโจมตีอิสราเอลในครั้งล่าสุดว่า
เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำของรัฐบาลอิสราเอลที่บุกรุกมัสยิดอัลอักซอ
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมัสยิดอัลอักซอ ตั้งอยู่ในนครเยรูซาเล็มตะวันออกที่อิสราเอลยึดครองอยู่
และเป็นการตอบโต้กลับสำหรับความโหดร้ายทั้งหมดที่อิสราเอลกระทำย่ำยีต่อชาวปาเลสไตน์ติดต่อกันมาหลายทศวรรษ
“เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศยุติความโหดร้ายในฉนวนกาซาต่อชาวปาเลสไตน์
และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเรา อาทิ อัล-อักซอ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุเบื้องหลังการเปิดฉากต่อสู้ครั้งนี้” อบูอุบัยดะฮฺ โฆษกฮามาสกล่าว
“นี่เป็นวันแห่งการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพื่อยุติการยึดครองครั้งสุดท้ายของโลก”
มูฮัมหมัด เดอิฟ ผู้บัญชาการทหารของกลุ่มฮามาส กล่าว
ที่มาของข้อมูล:
Israeli
forces shot their own civilians, kibbutz survivor says
Israel
settler: ‘Israel forces killed hostages, not Hamas’
https://www.middleeastmonitor.com/20231021-israel-settler-israel-forces-killed-hostages-not-hamas/
Israeli forces shot their
own civilians, kibbutz survivor says
A growing number of
reports indicate Israeli forces responsible for Israeli civilian and military
deaths following October 7 attack
U.S., Israel manufacture
atrocities to justify their war crimes
https://www.liberationnews.org/us-israel-manufacture-atrocities-to-justify-war-crimes/
อัลญะซีเราะฮฺ