Sunday, April 17, 2016

สหรัฐฯ จะทำการสอบสวนเรื่องการสังหารพลเรือนด้วยการใช้เครื่องบินไร้คนขับโจมตีในอัฟกานิสถาน

11 เมษายน 2016

ภาพเด็กๆ ชาวอัฟกานิสถานซึ่งไร้วิญญาณวางเรียงกันไว้บนพื้น เพื่อรอการทำพิธีทางศาสนา หลังจากถูกสหรัฐใช้เครื่องบินโจมตีทางอากาศถล่มครอบครัวใหญ่ของเด็กเหล่านี้ ทำให้ผู้ใหญ่เสียชีวิตหลายคน และเด็กอย่างน้อย 10 คน ใน Shultan Shigal district, Kunar, ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน eastern Afghanistan 7/04/2013

เด็กเล็กชาวอัฟกานิสถานบาดเจ็บสาหัสในการโจมตีด้วยการใช้โดรนหรือเครื่องบินไร้คนขับ 14/06/11


ทางการอัฟกานิสถานได้กล่าวว่า ได้มีพลเรือนเสียชีวิต 3 คนในตอนกลางคืนจากการที่สหรัฐใช้เครื่องบินโจมตีทางอากาศ ระหว่างที่พวกเขาออกล่าหานกเพื่อนำมาเป็นอาหาร 05/08/2013


ทางองค์กรสหประชาชาติเองก็จะทำการสอบสวนด้วยการจัดตั้งคณะ
กรรมการอิสระขึ้นมา เพื่อสืบสวนในกรณีที่ประชาชนกล่าวหากองทัพ
สหรัฐฯ ว่าได้ใช้เครื่องบินไร้คนขับหรือโดรนสังหารพลเรือนใน 
Paktika องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic 
Treaty Organzation : NATO) ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากในสงคราม
ของประเทศอัฟกานิสถาน ได้มีการยืนยันว่ากองทัพสหรัฐฯ จะทำการ
สอบสวนในกรณีที่สหรัฐฯ ใช้โดรนโจมตีทางตะวันออกเฉียงใต้ของ
อัฟกานิสถาน ที่ได้คร่าชีวิตพลเรือนไป 17 คนเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา



พล.จ. ชาลส์ เคลฟเวอร์แลนด์ (Brigadier General Charles 
Cleveland) โฆษกของพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ ได้กล่าวกับสำนัก
ข่าวอัลญะซีเราะฮฺในวันจันทร์ (11/04/16) ว่า พวกเขาจะทำการ
สอบสวนถึงการโจมตีทางอากาศด้วยการใช้โดรนในจังหวัด Paktika



“ในเวลานี้เรายังไม่มีหลักฐานถึงการเสียชีวิตของพลเรือน อย่างไร
ก็ตาม เรากำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่” พล.จ. เคลฟเวอร์แลนด์กล่าว



เมื่อวันเสาร์ 9/04/16 บรรดาญาติและเหล่าอาวุโสจากหลายเผ่าได้มี
การเรียกร้องให้มีการสอบสวน ที่อ้างว่าการโจมตีทางอากาศหลาย
ครั้งนั้นได้สังหารพลเรือนไม่ใช่สมาชิกของกลุ่มติดอาวุธแต่อย่างใด 
อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลอัฟกานิสถานกล่าวกับสำนักข่าวอัลญะซี
เราะฮฺว่า พลเรือนที่ถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศมีความ
เกี่ยวข้องกับกลุ่มตอลิบัน



หนึ่งวันหลังจากมีการเรียกร้องให้มีการสอบสวน ทางคณะทำงาน
ให้การช่วยเหลืออัฟกานิสถานของสหประชาชาติ United Nations 
Assistance Mission in Afghanistan (UNAMA) ได้ยืนยันกับสำนัก
ข่าวอัลญะซีเราะฮฺว่าจะมีการสอบสวนเรื่องนี้ “ทาง (UNAMA) กำลัง
ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีรายงานพลเรือนเสียชีวิตจำนวน 
17 คน และเราจะเผยแพร่ผลการสอบสวนทันทีที่ผลสอบสวนเสร็จสิ้น
ลง” นาย Dominic Medley โฆษกของ UNAMA กล่าวกับสำนัก
ข่าวอัลญะซีเราะฮฺ


“เรามีการตรวจสอบจำนวนพลเรือนที่บาดเจ็บ และเสียชีวิตทั่ว
อัฟกานิสถาน แต่สำหรับในกรณีนี้ เราเพิ่งจะเริ่มต้นตรวจสอบข้อเท็จ
จริง ส่วนเรื่องรายงานคงจะใช้เวลาพอสมควรกว่าจะได้ข้อสรุปที่ถูก
ต้องที่ตรงกับความเป็นจริง”


นายมูฮัมหมัด ฮัสซัน กาซิซะดา “ Mohammed Hassan 
Ghazizada อดีตวุฒิสมาชิกจากจังหวัด Paktika กล่าวกับ
สำนักข่าวอัลญะซีเราะฮฺว่า “ผลการสืบสวนจะได้พิสูจน์กันว่า ฝ่าย
พลเรือนที่เป็นผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารจากการโจมตีทางอากาศ”


“พลเรือนทั้งหมดนั้นล้วนเป็นผู้บริสุทธิ์ ผมรู้จักกับครอบครัวเหล่านี้
เป็นการส่วนตัว และผมก็ทราบดีถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการ
โจมตี การสอบสวนจะช่วยให้พวกเขา (กองทัพสหรัฐฯ) ออกมายอม
รับความผิดพลาด”


เมื่อไม่นานมานี้ ทางกองทัพสหรัฐฯ เองก็ยังออกมายอมรับว่า ได้ทิ้ง
ระเบิดถล่มโรงพยาบาล โดยเมื่อวันที่ 06 ตุลาคม 2558 พลเอก
จอห์น แคมป์เบล ผู้บัญชาการทหารสหรัฐในอัฟกานิสถาน ได้ออก
แถลงการณ์ครั้งแรกโดยเปิดเผยว่า กองกำลังอัฟกานิสถานเป็นฝ่าย
ขอให้สหรัฐโจมตีทางอากาศทิ้งระเบิดถล่มโรงพยาบาลในเมืองคุน
ดุซ ซึ่งทำให้มีพลเรือนและแพทย์เสียชีวิต 22 คน ภายหลังกลุ่ม
แพทย์ไร้พรมแดนประกาศว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่าอาชญากรรม
สงคราม



ส่วนนายจอห์น แครี่ John Kerry รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศสหรัฐ แอบเยี่ยมประเทศอัฟกานิสถานแบบเงียบๆ เมื่อวันเสาร์
ที่ 9 เมษายน 2016 และได้เรียกร้องให้กลุ่มตอลิบันเข้าร่วมนั่งโต๊ะ
เจรจาเพื่อสันติภาพ แต่นายกาซิซะดา เชื่อว่าสันติภาพจะไม่เกิดขึ้น
ตราบใดที่ “พลเรือนผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารรายวัน” อย่างนี้ต่อไป 
“อัฟกานิสถานจะไม่ประสบกับสันติภาพภายใต้สโลแกน “สงครามต่อ
ต้านการก่อการร้าย” ถ้า “พลเรือนผู้บริสุทธิ์ยังเสียชีวิตอยู่อย่างนี้อีก”



อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีการใช้โดรนโจมตีมากที่สุดในโลก

ตั้งแต่ปี 2001 สหรัฐฯ ได้ส่งโดรนถล่มอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะแต่
ทางตอนใต้และทางตะวันออกของประเทศ



อ้างจากสำนักการข่าวเชิงสืบสวน (Bureau of Investigative 
Journalism) ที่มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอนกล่าวว่า อัฟกานิสถานเป็น
ประเทศที่มีการใช้โดรนโจมตีมากที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี 2001 ถึงปี 
2013 ได้มีการใช้โดรนโจมตีถึง 1,670 ครั้งในประเทศอัฟกานิสถาน



แต่กลับไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการทิ้งระเบิด โดยเฉพาะ
ไม่มีการระบุจำนวนผู้เสียชีวิต ซึ่งมีเหตุผลสามประการด้วยกัน


ประการแรกก็คือ สื่อกระแสหลักไม่ได้ให้ความสนใจถึงสงครามที่ใช้
โดรนในการโจมตีทางอากาศ และไม่ได้สนใจว่าเหยื่อจะเป็นใคร


ประการที่สองก็คือ ทั้งรัฐบาลคาร์บูลและสหรัฐฯ ขาดความโปร่งใสไร้
ความจริงใจกับประชาชนชาวอัฟกานิสถาน


ส่วนประการสุดท้ายก็คือทั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชน และผู้
สื่อข่าวไม่เคยสนใจเข้าไปทำข่าวหรือเก็บข้อมูลในบริเวณต่างๆ ที่มี
การทำสงครามในอัฟกานิสถาน ซึ่งในรายงานของสหประชาชาติ โดย
นักวิจารณ์ได้รายงานว่า ปราศจากผู้สื่อข่าวหรือกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อ
สิทธิมนุษยชนที่ประจำในพื้นที่ต่างๆ ที่มีการทำสงครามกันอยู่ การที่
พลเรือนถูกสังหารจึงไม่มีการถูกรายงานข่าว และไม่เคยถูกบันทึก
เรื่องราวของพลเรือนที่เสียชีวิตจากโดรนหรือเครื่องบินรบของ
สหรัฐฯ เอาไว้อย่างเป็นทางการโดยนักสิทธิมนุษยชน



“พื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ในการทำสงครามในอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะที่ที่มี
การโจมตีด้วยการใช้โดรนอยู่บ่อยครั้ง จะไม่มีผู้สื่อข่าวหรือนักสิทธิ
มนุษยชนไปประจำบริเวณนั้นๆ พวกเขาถือว่าพื้นที่เหล่านี้มันอันตราย
เกินไปและเป็นพื้นที่เสี่ยงตาย” นาย Waheed Mozhdah นัก
วิเคราะห์ทางการเมืองที่มีสำนักงานอยู่ในคาร์บูล กล่าว



ในปี 2013 ทางยูเอ็นยังได้ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องการโจมตีด้วยการ
ใช้โดรนในอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และเยเมน ชี้ให้เห็นว่า “สหรัฐฯ 
ปิดบังข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการใช้โดรนโจมตี ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ
การประเมินผลกระทบที่มีต่อพลเรือน” ดังนั้นรายชื่อและเรื่องราวของ
พลเรือนเหล่านั้น ที่เสียชีวิตจากการถูกโจมตีด้วยโดรนจึงไม่ปรากฏ
ต่อสาธารณชน มีเพียงแต่ครอบครัวของพวกเขาเท่านั้นที่ทราบเรื่อง
ราว



นาย Jack Serle จาก Bureau ใช้เวลาหลายปีศึกษาเรื่องการโจมตี
ด้วยการใช้โดรน ให้ความเห็นว่า “จากประสบการณ์ของผมเอง เจ้า
หน้าที่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดจะเป็นแหล่งข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องผู้เสียชีวิตจากโจมตีด้วยโดรน แต่บ่อยครั้งก็ไม่มีความ
ชัดเจนว่าพวกเขานำข้อมูลมาจากที่ใด ซึ่งในปีที่ผ่านมา พวกที่ให้
ข้อมูลบอกกับผมว่าเขาได้ข้อมูลมาจากสำนักงานความมั่นคงแห่ง
ชาติ (National Directorate of Security ใช้อักษรย่อว่า NDS) จาก
หน่วยข่าวกรองของอัฟกานิสถาน ซึ่งรับข้อมูลมาจากสหรัฐฯ อีกทอด
หนึ่ง แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป”



✍ เรื่องเล่าของนายซาดิ๊ก พลเรือนที่เสียชีวิตจากการโจมตีด้วยโดรน

ครอบครัวของนายซาดิ๊ก รู้สึกช็อคเมื่อได้ฟังจากสถานีวิทยุ Azadi ที่
มีเครือข่ายในอัฟกานิสถานแต่เป็นของรัฐบาลสหรัฐฯ และทราบจาก
ข่าวช่องอื่นๆ ที่นำลูกชายของตนไปเชื่อมโยงกับกลุ่มติดอาวุธ ทั้งๆ ที่
นายซาดิ๊กเองนั้นไม่เคยมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มใดๆ เลย


หลังจากที่นายซาดิ๊กเสียชีวิตไม่กี่อาทิตย์ ไม่มีผู้สื่อข่าวสักคนเดียวที่
เข้ามาเยี่ยมครอบครัวของเขาที่หมู่บ้านเพื่อค้นหาความจริง หรือไม่มี
การไปพูดคุยกับผู้คนที่รู้จักกับนายซาดิ๊กเลย



ครอบครัวของนายซาดิ๊กเองก็ได้เข้าพบตำรวจและทหารประจำท้อง
ถิ่น ซึ่งแม้กระทั่งพวกเขาได้แสดงความเสียใจต่อ



การจากไปของนายซาดิ๊ก แต่พวกเขาก็บอกกับครอบครัวของนาย
ซาดิ๊กว่าไม่ให้ทำอะไรไปมากกว่านี้
“พวกเขาต้องการให้ครอบครัวเงียบไป เพราะเรื่องนี้มันจะทำให้ทาง
รัฐบาลและสหรัฐฯ กลายเป็นอาชญกรรมสงคราม” นายฟาฮัด คาน 
Farhad Khan ผู้เป็นลูกพี่ของนายซาดิ๊กที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน และ
ตอนนี้พยายามส่งเงินช่วยเหลือครอบครัวนายซาดิ๊กอยู่


จนถึงปัจจุบันนี้ ครอบครัวนายซาดิ๊ก ยังไม่ได้มีการรับการอธิบายว่า
ทำไมลูกชายของเขาถึงถูกสังหาร และทำไมถึงนำนายซาดิ๊กไป
เกี่ยวข้องกับกลุ่มตอลิบัน



✍ เรื่องเล่าของเด็กชาย 4 ขวบที่เสียชีวิตจากการถูกโจมตีด้วยโดรน

ในเดือนเมษายน 2013 นายนากิ๊บบุลลอฮฺ Naqibullah ได้นำลูกชาย 
อามิร วัย 4 ขวบ ไปพบแพทย์ที่เมืองอัสซาดาบัด Asadabad อยู่ทาง
ทิศตะวันออกของจังหวัดคูนาร์ Kunar นายนากิ๊บบุลลอฮฺบอกน้อง
ชายวัย 25 ปี นายอับดุล วาฮิด ให้นำลูกกลับหมู่บ้านไปด้วยกับน้อง 
ระหว่างที่เขาต้องการอยู่ที่เมืองคูนาร์ต่อ



เมื่อเขาโทรกลับบ้านเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งน้องชายและลูกกลับบ้านด้วย
ความปลอดภัยหรือเปล่านั้น เขาได้รับคำตอบกลับมาว่า ทั้งสองคน
เสียชีวิตไปแล้ว


“ชาวบ้านบอกกับผมว่าทั้งน้องชายและลูกชายของผมถูกสังหารโหด
จากการโจมตีทางอากาศด้วยโดรน” “ผมรับไม่ได้กับข่าวร้ายนี้ มัน
ทำให้ผมต้องนิ่งเงียบไปโดยปริยาย ทันใดนั้นภาพของลูกชายและ
น้องของผมก็ปรากฏขึ้นมา ขณะที่น้ำตาของผมที่ไหลออกมาไม่หยุด”



อ้างอิงข้อมุลจากนายนากิ๊บ รัฐบาลคาร์บูลยืนยันว่าลูกชายและน้อง
ชายของเขาเป็นสมาชิกกลุ่มตอลิบัน รัฐบาลอัฟกานิสถานกลับบอก
ผมว่าเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องพิสูจน์เอาเองว่าทั้งลูกชายและน้องของ
ผมไม่ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มตอลิบัน



จนถึงวันนี้ นายนากิ๊บบุลลอฮฺ ดูแลลูกๆ ของน้องชายอับดุล วาฮิด ที่
เป็นเหยื่อจากการโจมตีทางอากาศด้วยโดรน “ฮิลาล ซึ่งเป็นหนึ่งใน
ลูกชายของน้องผมยังคงถามผมถึงพ่อของเขาอยู่ตลอดเวลา”



กองทัพอิสราเอลสังหารเด็กกาซ่า 50 คน ภายใน 2 วัน

แคทเธอรีน รัสเซลล์ ผู้อำนวยการบริหารขององค์กรยูนิเซฟ UNICEF ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีที่นองเลือดในฉนวนกาซาเหนือเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย...