Saturday, February 27, 2016

Friday, February 26, 2016

นักสิทธิมนุษยชนหญิง แห่งชายแดนใต้: อัญชนา หีมมิหน๊ะ

Fri, 2016-02-26 18:48



ทวีพร คุ้มเมธา

นักสิทธิฯ หญิงจากปาตานีผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มด้วยใจโดนคุกคามและข่มขู่หลังเปิดโปงการซ้อมทรมานในค่ายทหารใน 3 จว.ชายแดนใต้ เปิดใจตั้งแต่วันที่เป็นครอบครอบของผู้ต้องขัง จนถึงวันที่เธอถูกข่มขู่เสียเอง และความหวังต่อสันติภาพในบ้านเกิด

อัญชนา หีมมิหน๊ะ หรือ มุมตัส วัย 42 ปี ถูกทหารไปเยี่ยมและเรียกไปพบรวมแล้วถึงสามครั้งด้วยกันตั้งแต่ต้นปี 2559 ด้วยเหตุว่า เธอเป็นคนสำคัญในการจัดทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายประจำปี 2557-2558 จัดทำโดยกลุ่มด้วยใจ และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานดังกล่าวรวบรวมข้อมูลจากเหยื่อมากกว่า 50 ราย ซึ่งเล่าเรื่องข้อร้องเรียนการทรมานผู้ต้องขังในค่ายทหารอย่างละเอียด (อ่านรายงานที่นี่)

นอกจากการ “เยี่ยม” และ “เชิญดื่มกาแฟ” แล้วเธอยังพบกับกระแสต่อต้าน ทั้งจากทหารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 59 พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. กล่าวว่า ผู้จัดทำรายงานนี้มีเจตนาทำลายความน่ารัฐ และทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีสากล กล่าวหาว่าเป็นการนำข้อมูลเก่ามารีไซเคิลเพื่อ “ให้สมกับเงินทุนที่ได้รับมา” และยังพูดในทำนองว่า เป็นเทคนิค “เดิมๆ” ของภาคประชาสังคมในการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐ ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อัญชนาก็ถูกโจมตีว่ารับเงินต่างชาติมาทำลายประเทศไทยเช่นกัน

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อประมาณ 12 ปีที่แล้ว เมื่อ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายเเดนใต้ (ศอบต.) และใช้กำลังตำรวจที่ไม่เป็นที่นิยมมาปฏิบัติหน้าที่แทน หลังจากนั้นรัฐไทยตอบโต้ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนใต้ด้วยการใช้นโยบายทางทหารเข้มข้น สืบเนื่่องจนถึงในรัฐบาลต่อ ๆ มาเพื่อเเก้ปัญหา โดยการส่งกำลังทหารลงพื้นที่จำนวนมาก เเละการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ซึ่งคือ พระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึก กฎหมายพิเศษนี้เองที่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่คุมตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีข้อหาได้สูงสุดถึง 37 วัน ซึ่งกลายเป็นช่วงเวลาที่วิธีนอกกฎหมาย อย่างการซ้อมทรมานและการอุ้มหายถูกนำมาใช้กับผู้ต้องหาคดีความมั่นคง

อัญชนาเป็นคนอำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา เรียนจบปริญญาตรี วนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเกษตร จาก มอ. หาดใหญ่ เธอทำงานออฟฟิศ และต่อมาทำธุรกิจของตัวเองดังเช่นคนทั่วไป จนวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันกับคนในครอบครัว เกิดเป็นความมุ่งมั่นที่จะไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับประชาชนในปาตานี แม้ปัจจุบันเธอจะทำงานภาคประชาสังคมมากมาย ธุรกิจส่วนตัวคือร้านรับล้างอัดฉีดและร้านขายผ้าอยู่ก็ยังทำอยู่ ซึ่งเธอบอกว่า “เพื่อเลี้ยงตัวเอง” ส่วนงานเอ็นจีโอน้้นทำเพื่อ “ตอบสนองความต้องการทางใจ” “เหมือนอัลลอฮ์ให้โอกาสเรา ส่งคนมาช่วยเรา และเปิดโอกาสให้เเราเห็นปัญหาของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ แล้วทำไมเราถึงจะไม่ตอบแทนอัลลอฮ์โดยไปช่วยคนอื่นบ้างล่ะ” อัญชนากล่าว

ในขณะที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่กำลังตื่นตัวและโฟกัสกับการพูดคุยสันติภาพที่กำลังมีความคืบหน้า อัญชนาเป็นคนหนึ่งที่ยังเกาะติดการเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้สาธาณะได้รับรู้ เพราะเธอเชื่อว่า สันติภาพจะเกิดไม่ได้ หากไม่มีความยุติธรรม

ทำไมจึงมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนได้ ก่อนหน้านี้ทำอะไร

ก่อนหน้านี้เวลาดูข่าวทีวี เห็นข่าวก็จะมีคำถามว่าทำไมมุสลิมรุนแรง ขัดกับหลักศาสนาที่สอนให้สันติสุข เราก็ไม่ได้ตั้งคำถามเท่าไร ยังมองว่าทหาร ตำรวจนั้นดี เราก็ทำธุรกิจส่วนตัวของเราไป แต่พอเจอเหตุการณ์ที่น้องเขยเราถูกจับในปี 2551 ก็เปิดโลกใหม่ของเรา น้องเขยถูกจับหลังแต่งงานกับน้องสาว (ปัทนา หีมมิหน๊ะ) แต่งงานได้สองเดือน เราตกใจมากว่ามาเกิดกับเราได้อย่างไร ร้านเราก็มีลูกค้าเป็นทหารและตำรวจด้วยซ้ำไป พอรู้ข่าว เราก็ขับรถจาก อ.สะบ้าย้อย (จ.สงขลา) ไปยะลาทันที เราก็เห็นน้องสาวยืนเกาะลูงกรง คุยกับสามีที่โรงพัก เราก็ติดต่อคนนู่นนี้อย่างไม่รู้กระบวนการ แล้วก็หาทนาย เราโดนหลอกให้จ่ายเงินไปก่อนหลายครั้ง

ศาลไม่ให้ประกันตัวน้องเขย เราก็ร้องเรียนเรื่องของเราที่ค่ายทหารหลายค่าย รอพบทหาร ตำรวจ ระดับผู้ใหญ่ เพื่อร้องเรียนเรื่องน้องเขยของเรา แต่ก็ไม่เกิดผลอะไร ค่าทนายแค่สี่เดือนก็หมดไปเกือบสองแสนแล้ว เราเลยเปลี่ยนวิธี ไปร้องเรียนตามเวทีเสวนาเรื่องสันติภาพหรือความยุติธรรมต่างๆ เราจะยกมือถามว่า “สิ่งที่เราเจอมา ไม่เห็นเป็นความยุติธรรมเลย” พอเกิดเรื่องขึ้น เราก็เข้าใจเลยเรื่องการถูกตราหน้าจากคนในชุมชน อย่างน้องสาวเรา เขาก็พูดกันว่า เป็นภรรยาผู้ก่อความไม่สงบ

หลังจากเดินสายงานเสวนาไม่นาน เราก็ได้เจอพี่หน่อย (พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม) และอ่านหนังสือเพื่อศึกษาเรื่องกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนด้วยตัวเอง
ปี 2553 ศาลตัดสินยกฟ้องน้องเขย เราก็มาเดินเรื่องเพื่อให้ได้รับการเยียวยา จึงได้เรียนรู้เรื่องการเยียวยาอีก ประสบการณ์จากกรณีน้องเขยทำให้เห็นว่า ใครก็ตามที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคง มันทารุณจิตใจเขามาก ต้องคุยกับคนที่รักผ่านกระจกและลูกกรง มีโซ่ตรวนล่ามที่ข้อเท้าเวลาเดิน เรารู้สึกว่า คนนะไม่ใช่สัตว์ที่จะมาใส่โซ่ตรวน แล้วถ้าลูกของผู้ต้องหาเห็นพ่อเขาสภาพแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร

เรากับน้องสาวก็ตั้งกลุ่ม “ด้วยใจ” ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือ คำปรึกษา กับครอบครัวผู้ต้องขัง ให้เขารู้ถึงสิทธิ และได้รับความเป็นธรรม การทำงานกับผู้ต้องขังก็นำไปสู่งานที่เราทำเรื่องการซ้อมทรมาน เพราะหลังจากเราเข้าไปให้ความรู้เรื่องกระบวนการยุติธรรม และสร้างกำลังใจกับผู้ต้องขัง เราก็ได้ฟังเรื่องราวที่ผู้ต้องขังถูกซ้อมทรมาน ก็นำข้อมูลนี้มาเขียนรายงาน

คนที่เคยผ่านการถูกจับกุมคดีความมั่นคง โดยเฉพาะคนที่ถูกทรมาน มักเป็นโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) เขาจะนอนไม่หลับ คิดซ้ำๆ ว่ามันจะเกิดกับเราอีก หดหู่ อยากอยู่คนเดียว อยากฆ่าตัวตาย และยังโทษตัวเองว่าทำให้ครอบครัวลำบาก ทำให้ครบครัวซวย สำคัญมากว่าหากเขาไม่ได้รับการเยียวยา เขาอาจถลำลึก ถูกชักจูงไปใช้ความรุนแรง

แนวโน้มการทรมานสองสามปีมานี้เป็นอย่างไร

การทรมานไม่ลดลงเลย มีแต่เพิ่มมากขึ้น เจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยยอมรับว่ามีการทรมานเกินขึ้น เจ้าหน้าที่มักคิดว่า คนที่ถูกจับเป็นคนที่ผิดร้อยเปอร์เซนต์ เพราะฉะนั้นจะใช้วิธีอะไรก็ได้ ทั้งยังมองผู้ต้องหาไม่ใ่ช่คน และมองว่าตัวเองกำลังทำภาระกิจที่ยิ่งใหญ่อยู่ ว่าเขาได้ช่วยสังคมและประเทศชาติในการจับคนร้าย นอกจากนี้ กระบวนการต่างๆ มันกดทับทำให้คนมาร้องเรียนได้ยาก เราจึงไม่ค่อยได้ยินเสียงของเหยื่อการทราน

พอมีการร้องเรียนไปที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กสม.ก็ทำได้อย่างมากคือ ส่งข้อแนะนำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้มีการสอบสวนใด พอมูลนิธิผสานวัฒนธรรมส่งรายงานไปยูเอ็น เขาก็เต้นกันใหญ่เลย เขาก็พยายามไม่ให้ข่าวรอดออกไป โดยการไปข่มขู่เหยื่อ

คนภายนอกอาจรู้สึกว่าสถานการณ์มันดีขึ้น นั่นเป็นเพราะเราได้ยินเสียงของรัฐที่ว่าจะยึดหลักสิทธิมนุษยชน ดังกว่าเสียงของประชาชนที่บอกว่าถูกรัฐละเมิด รัฐเองก็พยายามปิดทางไม่ให้เกิดการร้องเรียน หรือดิสเครดิตการร้องเรียน

เราอยากบอกรัฐว่า การซ้อมทรมานมีแต่จะขยายความรุนแรงและทำให้ไม่ได้มวลชน ผู้ต้องหาบางคนอาจเคลื่อนไหวกับขบวนการจริง แต่แทนที่จะทำให้เขาเปลี่ยนใจ กลับซ้อมทรมานเขา สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นผู้เห็นต่างจากรัฐก็เพราะเขารู้สึกว่ารัฐทำลายเขานั่นแหละ

การซ้อมทรมานในสามจังหวัดมี “พัฒนาการ” บ้างไหม เช่น แนบเนียนขึ้น ไม่ทิ้งร่องรอย

วิธีการก็เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ใช้การซ้อม ก็เปลี่ยนเป็นวิธีที่ไม่เห็นบาดแผลมากขึ้น เช่น เอาผ้าเปียกปิดหน้าทำให้หายใจไม่ออก ล่าสุดที่มีการร้องเรียนมาคือ เรื่องการถูกวางยาพิษ เกือบทุกกรณี ผู้ต้องขังบอกเราว่า ไม่กล้ากินน้ำและอาหาร เพราะกลัวถูกวางยาพิษ แต่ยังไม่มีการพิสูจน์

จากรายงานของกลุ่มด้วยใจและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมล่าสุด เห็นแนวโน้มว่าผู้ถูกคุมตัวมีแนวโน้มอายุน้อยลง คุณมองแนวโน้มนี้อย่างไร

จากสถิติ ชาวมลายูที่ถูกควคุมตัวอยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี และมีแนวโน้มอายุน้อยลง แปลว่า รัฐมองว่า เยาวชนคือทหารใหม่ ถ้าสมมติฐานนี้ถูก ก็แปลว่า ขบวนการเริ่มฝึกคนตั้งแต่ยังวัยรุ่น แต่ถ้าไม่ใช่ ก็คือจับคนผิด และจะทำให้เยาวชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมขบวนการจริงๆ เพราะรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกรังแก

ไม่ค่อยได้ยินเรื่องการบังคับสูญหายแล้ว เพราะอะไร

ตอนนี้ไมีค่อยมีเรื่องการอุ้มหายเท่าไร เพราะมีการวิสามัญฆาตกรรมมาแทน ส่วนใหญ่คือเหตุการณ์ยิงปะทะ เหยื่อส่วนใหญ่เป็นอดีตผู้ต้องขังที่ศาลยกฟ้อง หรือได้รับการประกันตัว เพราะเขามีความกลัวว่าจะถูกกระทำซ้ำ พอถูกล้อมบ้าน เขาก็ไม่ยอม ไม่อยากติดคุกอีก ก็จะสู้ รู้สึกว่า ยอมตายดีกว่า บางคนก็เพียงแค่หวาดกลัว เมื่อเจ้าหน้าที่บุกล้อม ก็วิ่งหนีและถูกยิงเสียชีวิต ในบางกรณี เราได้ยินว่า เขามอบตัวแล้ว แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าบ้าน เขากลับถูกยิงตาย

นอกจากการโดนทหารมาเยี่ยมที่บ้าน และเชิญไปพบแล้ว โดนคุกคามแบบอื่นบ้างไหม

ก็เจอทหารโทรศัพท์มาข่มขู่ เจอการดิสเครดิต ว่าด้วยใจเป็นองค์กรที่ปลุกปั่น ปลุกระดม จงใจให้เกลียดรัฐ สร้างข้อมูลเท็จ

ทำงานที่ท้าทายรัฐแบบนี้กลัวบ้างไหม

มองเป็นความท้าทายมากกว่า ว่าจะทำอย่างไรให้เขาเข้าใจในความมุ่งมั่นและปรารถนาดีของเรา ที่จะไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

คิดว่า ความยุติธรรมสัมพันธ์กับสันติภาพอย่างไร หลังๆ มานี้ทหารชอบพูดว่า เขาได้ “ก้าวข้าม” ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาแล้ว

สองอย่างนี้สันพันธ์กันมาก หลายคนชอบพูดถึงเรื่องเจตจำนงค์ทางการเมืองมากกว่าพูดถึงเรื่องความยุติธรรม เพราะการให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเป็นโจทย์ใหญ่และยาก การพูดเรื่องสิทธิในการปกครองตัวเอง เป็นอะไรที่นามธรรม พูดง่ายกว่า

เรามองว่า ความยุติธรรมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตอนนี้ ทั้งคนไทยพุทธและมลายูต่างก็รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ เช่น คนไทยพุทธมองว่า รัฐให้โอกาสการศึกษากับคนมลายูมากกว่า ผ่านการให้ทุนการศึกษาและโควต้าเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่คนมลายูมุสลิมมองว่า พวกเขาถูกมองอย่างเหมารวมว่าเป็นขบวนการแบ่งแยกเดินแดน ทำไมเวลารถของซีแย (คนไทย) ผ่านด่านไม่ถูกตรวจ แต่พอเป็นรถคนมลายูกลับถูกตรวจ

ชนชั้นนำในสังคมต่างพูดถึงการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการให้สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตัวเอง แต่ถ้าคุณไปสำรวจว่าประชาชนต้องการอะไร คำตอบอันดับแรกๆ คือ เรื่องปากท้อง การละเมิดสิทธิ และความปลอดภัย เพราะมันจับต้องได้ ส่วนคำถามเรื่อง การปกครองควรเป็นอย่างไร เป็นเรื่องไกลตัว

ปัญหาความยุติธรรมควรแก้อย่างไร

รัฐควรปรับทัศนคติ ไม่ควรคิดแต่ว่ามาทำงานเพื่อความมั่นคงของชาติ แต่มาทำงานเพื่อประชาชน เอาคำว่าความมั่นคงออกไป เอาคำว่าประชาชนและความเป็นมนุษย์มาแทน “ประเทศ” นั้นไม่มีชีวิตจิตใจ แต่คนที่ถูกละเมิดสิทธิเขามีชีวิตจิตใจ ชีวิตจิตใจของคนในพื้นที่ควรมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
ทหารไทยถูกสอนมาให้สู้รบ ทำให้ฮึกเหิมว่ามาปกป้องชาติ เรารู้เลย เพราะเวลาเราพูดกับเขาเรื่องสิทธิ เขาจะตอบว่า ทำไมคนที่ฆ่าตัดคอพระ เผาโรงเรียนควรได้รับการปกป้องสิทธิ? และมองว่าเรากำลังช่วยคนผิด เขาไม่เห็นว่า คนทำผิดก็ควรได้รับความยุติธรรม และไม่ควรถูกกระทำซ้ำ เพราะจะกลายเป็นไฟสุมวงจรความรุนแรงอย่างไม่สิ้นสุด เราอยากตัดวงจรความรุนแรงนี้

มีความหวังกับสันติภาพไหม

เราหาแสงสว่างของสันติภาพที่ปลายอุโมงก์ตลอดเวลา เราต้องเห็นมัน เป็นแรงผลักดันให้เราจะเดินไปข้างหน้า เราอาจหลงทางบ้าง แต่เราต้องหาทางให้เจอ

ที่มา-
http://prachatai.org/journal/2016/02/64294
มุสลิมีนเสียชีวิตลงขณะที่กำลังยืนละหมาดอยู่ในมัสยิด





มุสลิมีน (ชาย) คนหนึ่ง (ตามศรสีแดงชี้ในคลิปวีดีโอ) ได้ล้มลงกับพื้นเสียชีวิตในทันที ในขณะที่
กำลังยืนร่วมละหมาดกับมุสลิมีนคนอื่นๆ ในมัสยิด ทำให้มีผู้ที่เข้ามาในมัสยิดในเวลาต่อมา เข้ามาช่วยเหลือโดยลาก
ร่างที่ไร้วิญญาณออกจากแถวละหมาด และพอละหมาดเสร็จก็มีมุสลิมีนคนอื่นๆ มารุมดูร่างชายที่ไร้วิญญาณผู้นี้


ช่างเป็นผู้โชคดียิ่งนัก มุสลิมีนผู้นี้ได้เสียชีวิตลงในขณะที่กำลังทำอาม้าลอิบาดะฮฺ ร่วมละหมาดกับมุสลิมีนคนอื่นๆ ใน
มัสยิด....


ขอพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตาอาลา ทรงเมตตาให้พวกเราได้มีโอกาสเสียชีวิตในหนทางของพระองค์อัลลอฮฺ 
ด้วยเถิด อามีน.....ยาร็อบ


เครดิต –
The Australian Muslim
 
ดูคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้:

1. มุสลิมใหม่ชาวลอนดอนเสียชีวิตหลังรับอิสลามได้ 10 ช.ม.
https://www.facebook.com/muslim.aof/videos/vb.1437750509852666/1532420343719015/?type=2&theater
2. ผู้สูงอายุชาวสวีเดนเข้ารับอิสลามที่โรงพยาบาลก่อนนาทีสุดท้ายของชีวิต
https://www.facebook.com/muslim.aof/videos/1510255679268815/
เด็กชั้นป.1 ชาวปาเลสไตน์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังจากถูกผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลขับรถชนแล้วหนีไป

25 กุมภาพันธ์ 2016


เมื่อวันพุทธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2016 ด.ญ. Raghad Ezzat ศึกษาอยู่ชั้นป. 1 ถูกหญิงผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลคนหนึ่ง
ตั้งใจพุ่งเข้าชนเด็กและหนีไป ขณะที่เด็กกำลังเดินทางจากโรงเรียนเพื่อกลับบ้าน อ้างจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์
และอาศัยอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัย Shuafat refugee camp ในเขตเยรูซาเล็มที่อิสราเอลยึดครองอยู่


จากในคลิปวีดีโอจะเห็นว่าเด็กนอนแน่นิ่งเลือดไหลท่วมพื้น เมื่อชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์รีบเข้ามาช่วยเหลือ และโทร
เรียกรถพยาบาลเพื่อนำตัวเด็กไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล Ein Karem ในกรุงเยรูซาเล็ม


บ่อยครั้งแล้วที่ผู้ตั้งถิ่นฐานอิสราเอลใช้รถเป็นอาวุธในการสังหาร หรือทำให้ชาวปาเลสไตน์บาดเจ็บสาหัส มีอีก
เหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นภายอาทิตย์เดียวกันนี้เอง ที่มีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลอีกคนหนึ่งได้ใช้รถพุ่งเข้าชนสองแม่ลูก
ชาวปาเลสไตน์ และหนีไป ทำให้สตรีผู้สูงอายุที่เป็นมารดาวัย 60 ปีคือนางไซนับ ราเชย์ดาร์ เสียชีวิตลง และนางฟาติ
มะฮฺ ยัสซีน Fatima Yassin ได้รับบาดเจ็บปานกลางจากเหตุการณ์ชนแล้วหนี


ที่มา –
1. Palestinian first grader ran over by Israeli settler, badly injured
http://english.pnn.ps/…/palestinian-first-grader-ran-over-…/
2. Elderly Palestinian woman killed in possible settler hit-and-run




Thursday, February 25, 2016

แป้งเด็กจอห์นสันจ่ายค่าก่อมะเร็ง 72 ล้านดอลลาร์


24 กุมภาพันธ์ 2016


ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จ่าย
เงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ให้กับสุภาพสตรีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ซึ่งฟ้องร้องว่าสาเหตุของโรค
นั้นมาจากแป้งฝุ่น


ในรายละเอียด คณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ ตัดสินว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสันต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวน 10 
ล้านดอลลาร์ และอีก 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นค่าชดเชยแก่ครอบครัวของ แจ็คกี ฟอกซ์ สุภาพสตรีที่เสียชีวิต
ด้วยโรคมะเร็งรังไข่เมื่อปีที่แล้ว หลังจากใช้แป้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์
ติดต่อกันนานหลายปี


เบื้องต้นคณะลูกขุนตัดสินให้ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายรายใหญ่ของโลก 
จ่ายค่าเสียหายด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ทางบริษัทรับทราบมาไม่ต่ำกว่า 30 ปีแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่
ทัลก์ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งแต่ก็ล้มเหลวที่จะแจ้งและตักเตือนผู้บริโภค


ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันถูกฟ้องร้องกว่า 1,200 คดี ที่ทั้งหมดอ้างอิงจากผลการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่า แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์มีส่วนก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
รังไข่


คริสตา สมิธ หัวหน้าคณะลูกขุน ได้ขอเอกสารภายในของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเพื่อนำมาให้คณะลูกขุนอ่าน
พิจารณาประกอบการตัดสิน และคำตัดสินก็ออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาหลังจากพิจารณาหารือกันกว่าสี่ชั่วโมง


“มีความชัดเจนว่าบริษัทได้ปกปิดข้อมูลบางอย่างเอาไว้” สมิธกล่าวในฐานะหัวหน้าคณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ 
“สิ่งที่บริษัทควรทำมานานแล้วคือติดฉลากเพื่อตักเตือนผู้บริโภค”


ทั้งนี้ เจอราร์ด โนส ทนายของจอหน์สันแอนด์จอห์นสัน ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ต่อคำตัดสิน
อัลเลน สมิธ ทนายความของครอบครัวแจ็คกี ฟอกซ์ ให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า “นี่เป็นเพียงคำตัดสินจากการบริหารงานที่
เลวร้ายของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน”


ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเจาะตลาดกลุ่มผู้หญิงด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นซึ่งมีส่วนผสมของ
แร่ทัลก์ ภายใต้แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ โดยในปี 1988 มีข้อความโฆษณาตอนหนึ่งระบุว่า “ปลุกวันสดใสด้วยการ
กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ให้หมดไป”


แจ็คกี ฟอกซ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ในวัย 62 ปี ได้ให้การในช่วงหกเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตว่า เธอใช้แป้งเด็ก
จอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ทุกๆ เช้า จนกระทั่งตรวจพบว่า
ตัวเองเป็นโรคมะเร็ง


หลายปีที่ผ่านมา แร่ทัลก์ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายหลากหลายชนิด หน้าที่สำคัญคือดูดซับความชื้น
ประมาณการว่ามูลค่าของแป้งเด็กในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 18.8 ล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก Statistic Brain Research 
Group) และครัวเรือนสหรัฐราว 19 เปอร์เซ็นต์ใช้ผลิตภัณฑ์จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน


จอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้วางขายแป้งเด็กที่ใช้แป้งข้าวโพดแทนแร่ทัลก์ตั้งแต่ช่วงปี 1970 แต่ก็ยังโฆษณาขาย
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยังคงยืนยันมาตลอดว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย


อ้างอิงจากลิงก์ของสำนักพิมพ์ The Guardian กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่แชมพูเด็ก จอห์นสันยี่ห้อ no more tear มี
สารอันตรายผสมในแชมพูเช่นกันค่ะ


Source & picture -


1. แป้งเด็กจอห์นสันจ่ายค่าก่อมะเร็ง 72 ล้านดอลลาร์
2. Johnson & Johnson to pay $72m in case linking baby powder to ovarian cancer


มุสลิมใหม่ชาวลอนดอนเสียชีวิตหลังรับอิสลามได้ 10 ช.ม.

ลอนดอน – มุสลิมใหม่ซึ่งเป็นสตรีผู้สูงอายุชาวลอนดอนขื่อนางเวอร์จิเนีย ดัฟฟีย์ Virginia Duffy วัย 74 ปี ได้เสีย

ชีวิตลงหลังจากนางเข้ารับอิสลามได้ 10 ช.ม. โดยหนึ่งในบุตรชายทั้งสองคนที่เป็นมุสลิมใหม่เช่นกัน ได้ส่งข้อความ

ผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อเชิญชวนให้มุสลิมของชุมชนในลอนดอนมาร่วมงานญะนาซะฮฺ (งานศพ) มารดาของเขา เพราะ

ทั้งมารดาและลูกชายทั้งสองคนล้วนเป็นมุสลิมใหม่ จึงไม่มีญาติพี่น้องที่เป็นมุสลิมมาร่วมงานญานะซะฮฺของมารดา

ข้อความที่มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายในโลกโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นทางทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊กส์ คือข้อความดัง

กล่าว:

“ผมขอยืนยันวันและเวลาละหมาดญะนาซะฮฺแม่ของผม ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 11.00 น. ที่ 57 


Elmbridge road hainault, ilford IG6 3SW

ผมขอความกรุณาให้มุสลิมมาร่วมงานญะนาซะฮฺแม่ของผมด้วยครับ!!! เพราะครอบครัวของเราเป็นมุสลิมใหม่ และเรา

ไม่ค่อยรู้จักมุสลิมเพื่อที่จะเชิญมางานญะนาซะฮฺ ผมปรารถนาที่จะเห็นมุสลิมมาร่วมงานญะนาซะฮฺแม่ของผมเยอะๆ

ครับ แม่ผมเพิ่งเข้ารับอิสลาม 10 ช.ม. ก่อนที่จะเสียชีวิตลง อัลฮัมดุลิ้ลละฮฺ”

ปรากฏว่ามีมุสลิมจำนวนมากที่ได้ตอบรับคำเชิญของลูกชาย โดยมีมุสลิมประมาณ 700 – 800 คนที่ ไม่เคยรู้จักกับ

ครอบครัวดัฟฟีย์มาก่อน มาร่วมงานญะนาซะฮฺของนางเวอร์จิเนีย ดัฟฟีย์


ที่มา –
Ilmfeed
โรคหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia): ครูสอนศาสนาอิสลามย่านคลอง 13 ถูกกลั่นแกล้ง ข่มขู่ ไล่ออกจากหมู่บ้าน

ครูสอนศาสนาและเจ้าของร้านอาหารอิสลามริมคลองรังสิต ร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวว่าถูกผู้ไม่หวังดีก่อกวน จนต้องทำ

ลูกกรงเหล็กติดรอบร้าน และคนในครอบครัวต่างนอนผวาทุกคืน ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากร้านอาหารแห่งหนึ่ง

ในจังหวัดปทุมธานี ว่าถูกผู้ไม่หวังดีก่อกวนจนต้องทำลูกกรงเหล็กรอบร้าน และสมาชิกในครอบครัวทั้ง 6 คนต่างขวัญ

ผวานอนไม่หลับเพราะหวั่นอันตราย จึงเดินทางไปตรวจสอบ เมื่อเช้านี้ (22 ก.พ. 59) พบว่าเจ้าของร้านคือนายศิริ

โชค ยีดำ หรือยูซุฟ อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 60/4 หมู่ที่ 3 ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี นายศิริโชค ยีดำ บอก

ว่า ตนเองเป็นครูสอนศาสนาอิสลามในชุมชนเราะห์มัดรัศมี ต่อมาได้เปิดร้านอาหารอิสลามริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ 

คลอง 13 หน้าวิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี เปิดร้านอาหารได้ไม่ถึงเดือน จนเมื่อเช้ามืดวันที่ 14 พ.ย. 58 ที่ผ่านมา ถูกชาย

ชายฉกรรจ์ 4 คนดักทำร้าย ถูกตีจนแขนหักและหัวแตกจนต้องเข้าโรงพยาบาล


จากนั้น 22 พ.ย. ปลายปีที่แล้วก็มีตำรวจ 7 นาย พร้อมด้วยหมายศาล เข้าตรวจค้นภายในห้องนอนของตนเอง ซึ่งก็ไม่

ได้ขัดขืนอะไรทั้งสิ้น เนื่องจากมั่นใจตัวเองว่าไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจพบซองยาบ้าจำนวน

4 เม็ด อยู่ในตู้เสื้อผ้าของตน ที่ผ่านมาตนเองไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เหล้าไม่เคยดื่ม บุหรี่ก็ไม่เคยสูบ ถูกตรวจ

ปัสสาวะ ก็ไม่พบว่ามีสารเสพติดแต่อย่างใด ซึ่งตนต้องขึ้นศาลในวันที่ 16 มี.ค. 59 ที่จะถึงนี้ ต่อมาเมื่อช่วงเช้ามืดวัน

ที่ 24 ธ.ค. 58 ได้มีวัยรุ่นชายสองคนเอาก้อนหินปาใส่บริเวณหน้าร้าน ทำให้กระจกโชว์สินค้าแตกเสียหาย ตนเองและ

ครอบครัวจึงหันไปปรึกษาทหารมวลชนประจำพื้นที่ โดยได้รับคำแนะนำให้ติดกล้องวงจรปิด ตนจึงติดตั้งกล้อง

วงจรปิดรอบร้านจำนวน 3 ตัว และทำลูกกรงเหล็กล้อมร้านไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากบุคคลที่คอยกลั่นแกล้งต่างๆ 

นานา


ทั้งนี้ตนเองและครอบครัวอยากขอความเป็นธรรมและแสดงความบริสุทธิ์ โดยหวังว่าศาลจะตัดสินอย่างถูกต้องตาม

ความเป็นจริง ซึ่งที่ผ่านมาตนเองทำความดีเพื่อชุมชนมาโดยตลอด ไม่คิดว่าจะถูกผู้ไม่หวังดีประสงค์ร้ายเช่นนี้




ที่มา: WorkpointNews

*****เครดิต: Save Islam : สมาคมต่อต้านคนดูหมิ่นอิสลาม*****

กองทัพอิสราเอลสังหารเด็กกาซ่า 50 คน ภายใน 2 วัน

แคทเธอรีน รัสเซลล์ ผู้อำนวยการบริหารขององค์กรยูนิเซฟ UNICEF ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีที่นองเลือดในฉนวนกาซาเหนือเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย...